BRONCO สุราษฎร์ วนิชประภา - สุภาพบุรุษของวงการนกพิราบแข่งไทย (ตอนที่ 1)
2019-08-23 09:59:19 ใน นักเลี้ยงนก & สายพันธุ์ » 0 3633 “ BRONCO ” สุราษฎร์ วนิชประภา - สุภาพบุรุษของวงการนกพิราบแข่งไทย (ตอนที่ 1)
วงการนกพิราบแข่งในเมืองไทยเรา จะมีสักกี่กรงเมื่อเราเอ่ยถึงชื่อกรงแล้วจะนึกได้ว่าเป็นกรงของใคร
แน่นอนหนึ่งในนั้นก็คือ “ บรองโก้ ” เชื่อว่านักเลี้ยงนกจำนวนมากหรือแถบจะทั้งหมด ถ้าเลี้ยงนกพิราบแข่งกันมานานพอควร
ก็จะทราบกันดีว่าเป็นกรงของพี่ “สุราษฎร์ วนิชประภา”
กรงนี้ เป็นอมตะของวงการนกพิราบแข่งมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สำหรับพี่สุราษฎร์ วงการนกเรารู้จักกันดีว่าเป็นนายกของสมาคมส่งเสริมฯ เป็นพี่ชายที่แสนดี เป็นเพื่อนที่เพื่อนต่างก็รักสุดใจ
เป็นสุภาพบุรุษของวงการนกพิราบแข่งเรา จริงใจกับวงการนก ให้การสนับสนุนวงการนกพิราบแข่งด้วยดีมาตลอด
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของสมาคมจนก้าวไกลถึงการแข่งแบบนานาชาติที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่เรารู้จักกันดี ในการแข่งขันระดับตำนานที่เรียกกันว่า
Asia Pacific Racing Pigeon Conference
ซึ่งทุกสมาคมนกพิราบแข่งที่จัดการแข่งขันในตอนนั้นร่วมมือกันจัดขึ้น เป็นความภาคภูมิใจของนักเลี้ยงนกไทยเราซึ่งตอนนั้นบอกได้ว่ากว่าจะทำออกมาได้สำเร็จนั้นไม่ง่ายเลยครับ
อุปสรรคและปัญหานั้นมากมายแต่พี่สุราษฎร์ และ ผู้บริหารในสมัยนั้นช่วยกันผลักดันให้สำเร็จได้ด้วยดี
สำหรับวันนี้ ทีมงาน FCL เรา ได้รับเกียรติจากพี่สุราษฎร์ ได้ให้โอกาสพวกเราได้พูดคุยและให้เราได้รู้จักพี่สุราษฎร์ และ นกของพี่เขามากขึ้น
เนื่องจากกรงพี่สุราฎร์นั้นได้แข่งนกมานานมากกว่า 50 ปี ดังนั้นเรื่องผลงาน เรื่องถ้วยรางวัล นั้นมีมากมายเป็นหลายร้อยถ้วย
ก็ขอตัดช่วงในอดีตเก่าๆออก และ ขอนำเสนอเรื่องราวในปัจจุบันกันครับ
ผมขอเริ่ม และ เรียนถามดังนี้ครับ
1) ผมของรบกวนพี่ช่วยแนะนำตัวเองหน่อยครับ?
สุราษฎร์ วนิชประภา คือชื่อจริงของผมปัจจุบันอายุ 79 ปี เป็นเจ้าของกิจการ รับผลิตสายไฟฟ้าสายลำโพง สายเครื่องเสียง และ
สายสั่งทำทุกชนิดตามแบบของลูกค้า
โรงงานก็ตั้งอยู่ที่ ซอยเพชรเกษม69 แยก 3 ก็แถว บางแค
ซึ่งท่านใดสนใจติดต่องานก็โทรได้ที่02-4443196, 0831990552
รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ มาจากนก C 11 00705 กระ ป/ข
ที่ 1 ถ้วยพระราชทาน การแข่งขันนานาชาติ FCI จุด อ.พล
เจ้า C 11 00705 พ่อแม่นก เป็นสายพันธุ์นกที่มาจากคุณหมูใหญ๋ ปากน้ำ
พ่อของมันคือ C 08 00324 แม่ของมันคือ C 06 12382
พ่อนกเป็นพ่อพันธุ์ที่ให้ลูกดีมากๆ ให้ลูกถ้วยหลายใบ รวมถึงนกตัวเก่ง C 15 00171
2) พี่รู้จักนกพิราบแข่ง และ เริ่มเลี้ยงนกพิราบแข่งตั้งแต่เมื่อไรครับ?
ผมเลี้ยงนกตั้งแต่อายุ 12 ปี ตอนนั้นบ้านอยู่แถววงเวียน 22 กรกฎา แถวสามแยกเฉลิมบุรีเก่าตอนนั้นชอบเลี้ยงแต่ไม่ได้แข่งขัน
แต่ก็มีเอานกไปปล่อยซ้อมใกล้ๆบ้าง ก็ขอให้นกกลับกรงก็พอใจละครับในตอนนั้น หลังจากนั้นอีกหลายปีก็ย้ายมาอยู่ที่สีลม
ก็เริ่มเลี้ยงนกเพื่อแข่งขันโดยได้พันธุ์นกมาจากคุณประทีป พยักฆาภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมในสมัยนั้นได้ให้ไข่นกมาฟักเอง
ก็เริ่มแข่งแต่ก็เลี้ยงแข่งได้ไม่นานก็ต้องหยุดเพราะผมต้องไปเรียนต่อที่ประเทศอเมริกา จนจบปริญญาตรี ก็ไม่ได้เลี้ยงนกประมาณ 5 ปี
ช่วงนั้นน้องชายคนเล็กเขาชอบก็เลี้ยงนกต่อจนผมเรียนจบกลับมาเมืองไทยปี 1968 ก็สร้างกรงนกแข่งใหม่และใหญ่กว่าเดิม ตรงตึกที่สีลม
ตอนนั้นจำได้ว่านกที่คุณประทีปให้ไข่มาเหลือไม่กี่ตัวคุณประทีปก็ใจดีได้ให้ไข่นกชุดใหม่มาอีก และ
ผมก็ได้ขอให้คุณประทีปช่วยสั่งนกนอกของ VANHEE และ PONDOROSA (EIJERKAMP) เข้ามาเพิ่มเติมเสริมทีมนกพันธุ์
สำหรับ VANHEE ตอนนั้นก็ได้ลูกนกดังมากๆของเขาคือ MOTTA ม็อตต้า ก็เป็นต้นกำเนิดของนกสายพันธุ์ม็อตต้าในเมืองไทย
ซึ่งผมก็ได้แจกจ่ายลูกหลานนกพวกนี้ให้เพื่อนๆไปเล่น และ เก่งๆกันหลายคน ได้ชนะถ้วยพระราชทาน และ ถ้วยสมาคมกันมากมายเช่นกัน
ถ้าใครเคยไปเที่ยวกรงพี่สุราษฎร์ที่ถนนสีลม บนตึกธนาคารศรีนครสมัยนั้น จะเห็นภาพวาดสีน้ำมันของเจ้า Motta ประดับกำแพงอยู่
พี่น้องตระกูล VANHEE เป็นนักเลี้ยงนกที่ดังมากๆ เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของวงการนกของเบลเยี่ยม
ปัจจุบันลูกสาวเขา Annemie ก็หันมาดูแลธุรกิจทั้ง อาหาร ยา และ นก
โดยยังคงเน้นชื่อ VANHEE เป็นจุดขาย
3) ปัจจุบันพี่มีกรงนกแข่ง และ นกพันธุ์อยู่ที่ไหนบ้างครับ?
ปัจจุบันนกทั้งหมดก็อยู่ที่เดียวคือที่ ซอยเพชรเกษม 69 ก็อยู่บนตึกของโรงงาน
ภาพบริเวณหน้ากรงนก เป็นกรงที่ใหญ่มากเหมือนกัน และ นกอยู่สบายมากๆ
กรงนกพันธุ์ตัวผู้
กรงนกพันธุ์ตัวเมีย
การเข้าคู่นกเป็นกรงเหล็กเหมือนกรงทั่วๆไป
นกแข่งกำลังกินข้าว พื้นกรงส่วนใหญ่จะเป็นตระแกรง แข็งแรกมาก
4) มีเพื่อนๆฝากถามกันมามากว่า “บรองโก้ ” คือ ชื่อของอะไรครับ ทำไมพี่ถึงเลือกใช้ชื่อนี้เป็นชื่อกรงของพี่ครับ?
“บรองโก้” ชื่อนี้ก็เปรียบเสมือนสัญญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนที่อเมริกา ที่ Oklahoma Center Stage University
บรองโก้เป็นทีมอเมริกันฟุตบอลที่ดังมาก ผมก็ชอบชื่อนี้มาก มีความทรงจำที่ดีๆที่ตอนเรียนอยู่ที่นั่น
ก็เลยนำชื่อ “บรองโก้” มาเป็นชื่อของกรงผมครับ
5) มาถึงเรื่องของนกพันธุ์ พี่ได้มาจากที่ไหนบ้าง? หลักเกณฑ์ในการสรรหานกพันธุ์ มีอะไรบ้างครับ?
ถ้าตัดช่วงแรกๆที่ได้นกจากคุณประทีป และ สั่งนกนอกเข้ามาเล่นเองนั้นอิทธิพลของนกพันธุ์ช่วงหลังๆนี้ก็มาจาก
คุณวิสูตร หรือ ชื่อที่วงการนกเรามักเลี้ยงกันว่า “เฮียหมูใหญ่ ปากน้ำ” ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกมูลิแมน แจนเซ่น
ก็โชคดีที่ได้นกเขามาตอนเขาเลิกเลี้ยง ได้มากค่อนข้างมากประมาณ 200 ตัว แถบจะยกกรงก็ว่าได้
นกพวกนี้ดีนะ ให้ลูกแข่งได้ถ้วยรางวัลมากมาย ชนะการแข่งขันดีมาตลอดทุกวันนี้ และ
การพัฒนาเสริมสายพันธุ์นกครั้งล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีนี้ ก็เป็นการนำนกระดับสุดยอดของ
"คุณศิริชัย บุลกุล" เข้ามาทำพันธุ์ประมาณ 100 กว่าตัว
ตอนที่คุณศิริชัยตัดสินใจเลิกเลี้ยงหลังจากนั้นก็ไม่ได้ซื้อนกที่ไหนอีกเลย
ส่วนมากผมก็นำนกของทั้ง2ท่านนี้มาผสมกัน ก็ได้ผลงานที่ดีมากเช่นกัน
6) การให้อาหาร และ ยา สำหรับ นกพันธุ์ ช่วงไม่เข้าคู่ และ ช่วงเข้าคู่นก ของพี่เป็นอย่างไรครับ?
สำหรับการให้อาหารนกพันธุ์ ช่วงที่ไม่ได้เข้าคู่นั้น ผมจะเน้นไปที่ ข้าวเปลือกเม็ดสั้น โดยมีข้าวโพด
และ ถั่วผสม ไม่มาก เพื่อกันไม่ให้นกอ้วนเกินไป
ส่วนช่วงก่อนเข้าคู่นก ก็จะมีการถ่ายพยาธิ และ ให้ยากัน Canker และ เพิ่มถั่วนอก อาหารเสริม
เพื่อให้นกสมบูรณ์ขึ้นให้สมบูรณ์เต็มที่เพื่อพร้อมเข้าคู่นก
7) หลักการในการเข้าคู่นกเพื่อแข่ง หรือ เก็บทำพันธุ์ ของพี่เป็นอย่างไรครับ?
หลักๆแล้ว วิธีการเข้าคู่นกของผมนั้น จะเน้นไปที่ “ผลงาน” ของนกเป็นเกณฑ์
โดยนำนกที่มีผลการแข่งขันที่ดีมากๆ มาเข้าคู่กัน หรือ นกที่มีผลงานดีๆ มาเข้ากับนกที่บรีดไว้เพื่อทำพันธุ์
เพิ่มเติมจากสายพันธุ์ที่ดีแล้วผมก็จะเน้นไปที่นกที่มีรูปร่างที่ดี มีความสมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง
ก็จะนำมาผสมทั้งเพื่อแข่ง หรือ เก็บทำพันธุ์ การเข้าคู่นั้นก็มีทั้งแบบ Line breed และ Inbreed
8) ถ้าให้เน้นในการเข้าคู่นกเพื่อเป็นนกแข่ง พี่เน้นไปทางไหนครับ?
ก็เช่นเดียวกันกับที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ ผมก็จะเน้นที่นกแข่งที่มีผลงานที่ดี มาเข้ากับนกที่ให้ลูกหลานบินมีผลงานที่ดี
พวกนี้ก็จะมาใส่ห่วงแข่งขันต่อไป
9) พี่แข่งนกสายไหนบ้าง และ ที่กรงไหนครับ? จำนวนนกแข่งในแต่ละกรง แต่ละสายด้วยครับ?
กรงผมจะแข่งสายเหนือ และ ใต้เป็นหลัก ก็มีเพาะเพิ่มเติมไปแข่งที่กรงอินเตอร์บ้าง
ซึ่งแต่ละสายผมก็จะเพาะนกแข่งประมาณ 70-80 ตัว
ส่วนสายอีสาน กรงผมเองก็เลิกแข่งมาประมาณสัก 4 ปีได้ละ
ก่อนหน้าเชื่อไหมครับ ผมแข่งสายอีสานที่นี่ ที่เพชรเกษมนี่ละครับ แต่
เพราะทางนกเข้านั้นสู้ไม่ได้เลย ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นเพาะไปส่งแข่งที่กรงอินเตอร์แทน
10) มีฝากนกแข่งกรงอินเตอร์ และ นานาชาติ One loft race ในเมืองไทยไหมครับ? ส่งที่ไหนครับ?
ผมเองก็มีเพาะนกไปฝากกรงอินเตอร์อยู่ 3-4 กรงนะและ
ก็มีส่งนกแข่งแบบ One loft race ของทั้งพัทยา และ มหกรรมฯที่กรุงเทพฯ
11) สูตรอาหารนกอัตราส่วนมีอะไรบ้างครับ ในช่วงที่เป็นลูกนก นกเริ่มบิน
ช่วงซ้อม ช่วงแข่งระยะใกล้-กลาง และ ออกระยะทางไกล?
ช่วงลูกนกก็จะเน้นโปรตีนโดยให้ถั่วมาก มีอาหารเสริม ส่วนข้าวโพดจะให้น้อย
ส่วนระยะทางไกลนั้นก็จะมีการเพิ่มถั่วลิสง มากน้อยก็จะอยู่กับน้ำหนักของนกเป็นหลัก
12) การให้ยา วิตามิน สำหรับนกแข่ง พี่ให้อะไรบ้างครับ?
ส่วนใหญ่ผมให้ก็เป็นพวกยา วิตามิน ของพวกสัตว์ปีกนะ เพราะราคาถูกกว่าของนกพิราบมาก
ส่วนยาบางอย่างผมก็ใช้ของที่ผลิตมาเพื่อนกบ้าง ที่กรงก็มีการให้นกแข่งดื่มพวกอีเลคโตรไลท์ด้วย
13) การซ้อมนก พี่ออกซ้อมเอง หรือ ฝากคนอื่นซ้อม และ ระยะทางที่ซ้อมประมาณเท่าไร? ซ้อมสัปดาห์ละกี่ครั้ง?
ผมไม่ได้ซ้อมนกเองครับ จะฝากนกที่รับซ้อมนกไป ส่วนใหญ่ก็ซ้อมอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ใกล้ 2 และ ไกล 1 ครั้ง
14) ผลงานที่เด่นๆ ของกรงพี่ มีอะไรบ้างครับ?
ก็เอาผลงานล่าสุดละกัน ปี 2018 ก็ได้ถ้วยมาหลายใบนะ
ที่ 1 ตะพานหินที่ 3 อุตรดิตถ์ (ฝากแข่งที่กรงคุณโชคชัย พูนพล)
ที่ 1 อุดรธานี (ฝากแข่งที่กรงคุณเทียนชัย) ที่ 1 โคราช แข่งที่กรงคุณศักดิ์ดาชัย
ภาพนกที่ชนะถ้วยรางวัล ก็นำมาให้ชมกัน
C 16 82330 เทา เมีย ชนะที่ 1 หลังสวน
H 07 92452 เทา ป/ข ผู้ พ่อพันธุ์ตัวเก่ง ให้ลูกถ้วย 5 ใบ
C 08 00324 เทา ผู้ พ่อพันธุ์ตัวเก่ง ให้ลูกถ้วย 4 ใบ
C 15 00171 กระ ผู้ ชนะถ้วย 2 ใบ
15) พี่คิดว่าการแข่งนกนั้น อะไรเป็นเรื่องที่สำคัญ และ ทำให้ประสบความสำเร็จได้ครับ?
นกพิราบแข่งเป็นอะไรที่ต้องละเอียด เราจะต้องดูแลนกตั้งแต่เข้าคู่ เลือกนกที่ดีเข้าคู่
ดูแลความสมบูรณ์ของนกตั้งแต่ลูกนกให้แข็งแรงที่สุดตลอดจนถึงแข่ง
เพราะ ถ้าลูกนกไม่แข็งแรงก็แพ้ตั้งแต่เริ่มต้น
ส่วนใหญ่อยู่ก็ไม่ถึงแข่งเริ่มซ้อมก็หายไปแล้วก็มีเยอะ
ดังนั้นการเลี้ยงนกแข่งต้องเลี้ยงให้ดีอย่างสม่ำเสมอ
16) สำหรับการเลี้ยงนกพิราบแข่ง พี่มีการตั้งเป้าหมายไว้ยังไงบ้างครับ?
การเลี้ยงนกพิราบแข่งนั้นผมถือเป็น “งานอดิเรก” จริงๆ
ผมมีความสุขที่ได้เลี้ยงนกมาตั้งแต่เด็ก ผมไม่ได้ยึดเป็นอาชีพเลยครับ
สิ่งที่ผมตั้งใจและเป็นเป้าหมายสูงสุดคือ นกชนะที่กรงได้ถ้วยพระราชทานสัก 1 ใบ ไว้เป็นเกียรติ
ผมเคยชนะได้ด้วยพระราชทานจากการแข่งขันนานาชาติมาแล้ว
ถ้วยที่ประทับใจนอกจากถ้วยพระราชทาน แล้ว ผมเคยชนะถ้วยประดับทองคำของสมาคมส่งเสริม 2 ครั้ง
สมัยนั้นทองคำหนัก 10 บาทนะครับ ชนะสายเหนือจุดลำปาง และสายใต้จุดชุมพร
นอกนั้นก็ชนะได้ถ้วยรางวัลของสมาคมมามากมาย จำไม่ได้ละครับว่ากี่ใบ ก็น่าจะหลายร้อยใบละครับ
17) อยากให้พี่ช่วยให้แง่คิดสำหรับคนเลี้ยงใหม่ ว่า ควรจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้างเพื่อประสบความสำเร็จในการเลี้ยงนกพิราบแข่ง ?
เรื่องสายพันธุ์ ถ้าอยากที่จะเรียนทางลัดก็คงต้องไปหาซื้อนกจากกรงที่เขามีผลการแข่งที่ดีๆ และ
มีผลงานสม่ำเสมอ และ ผลงานที่ว่านั้น สำคัญนะต้องอยู่ในยุคปัจจุบัน และ จะต้องศึกษาวิธีการเลี้ยง
เทคนิคต่างๆจากกรงที่ซื้อมาด้วย
เรื่องทำเลที่ตั้งของกรงนกแข่ง นี่ก็สำคัญ กรงนกต้องอยู่ในทำเลที่นกเข้าได้ดี
ทำเลไม่ดีเสียเปรียบมากเหมือนสายอีสานของผมจะชนะอันดับดีๆนั้นยาก
การเลี้ยงดูแลนกนั้นต้องสม่ำเสมอ ต้องให้เวลา ต้องมีระเบียบวินัยที่ดี เพราะ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือนกจะต้อง...แข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยที่ดี
ศึกษาวิธีดูแลรักษาโรค การให้ยาที่ถูกต้อง และ ควรจะต้องทำวัคซีนต่างๆให้กับนกเพื่อป้องกันโรคด้วย
18) ประทับใจอะไรที่สุดครับ สำหรับ การเลี้ยงนก?
การเลี้ยงนกพิราบแข่ง มันไม่เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์อย่างอื่น มันเป็นทั้ง " ศาสตร์ และ ศิลป์ "
ที่เราจะต้องศึกษา ต้องเรียนรู้ ต้องมีความตั้งใจจริง
มันไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วไปซื้อนกเก่งๆ มาเข้าคู่ แล้วลูกของมันจะบินเก่งแน่นอน
มันไม่มีอะไรมาการันตีว่าลูกหลานมันจะบินเก่ง
มันไม่ง่ายแบบนั้นหรอกครับ บางทีก็เก่งตัวผู้ บางทีก็เก่งตัวเมีย และ ที่ไม่เก่งเลยก็มีเยอะนะ
การเลี้ยงนกต้องเอาใจใส่ดูแลมันตั้งแต่เข้าคู่เป็นไข่ เป็นตัว จนส่งแข่งจนจบการแข่งขัน
มันเลยเป็นการเลี้ยงดูและผูกพันธ์กัน
19) พี่สุราษฎร์ ตอนนี้ยังเป็นนายกสมาคมส่งเสริมฯ ใช่ไหมครับ? และ ปัจจุบัน การจัดการแข่งขันยังมีอยู่ไหมครับ?
เห็นว่าเปลี่ยนการจัดเป็นชมรมอนุรักษ์นกแข่ง ใช่ไหมครับ?
ใช่ครับผมก็ยังเป็นนายกสมาคมส่งเสริมฯอยู่ เพียงแต่เราไม่ได้จัดกิจกรรมการแข่งนกเท่านั้น
การจัดการแข่งขันก็อย่างที่เราทราบกันตอนนี้ดำเนินการแข่งขันโดย
"สมาคมอนุรักษ์นกพิราบแข่งฯ" เขาได้จดขอทะเบียนใหม่
ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาคมส่งเสริมฯ ผมเองก็ส่งนกแข่งที่นี่ครับ
รางวัลเกียรติยศ ที่ทางคณะกรรมการบริหาร และ การจัดการแข่งขัน ของสมาคมฯ ได้มอบให้กับพี่สุราษฎร์
อีกหนึ่งรางวัลที่ทางต่างประเทศได้มอบให้กับพี่สุราษฎร์ ในการเสียสละ และ อุทิศตนและเวลา
ให้กับการพัฒนาวงการนกพิราบแข่งของประเทศไทย
20) ปีนี้พี่สุราษฎร์ อายุเท่าไรครับ? พี่ดูหนุ่มมากๆ ขอหลักการดูแลสุขภาพของพี่ตั้งแต่ตอนเป็นหนุ่ม
จนถึงปัจจุบัน หน่อยครับ น้องๆจะได้รู้และดูแลร่างกายตามพี่ครับ?
ปีนี้ผมอายู 79 ปีแล้วครับ ผมเลี้ยงนกตั้งแต่เด็กมันก็เหมือนการออกกำลังกายแบบหนึ่ง
ตอนนี้ผมก็ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนมากๆ ที่สำคัญอย่าเครียดเป็นอันขาด
ทำอะไรก็ได้ที่ถูก ที่ควร และ คิดว่าสบายใจก็ทำ
พบปะเพื่อนฝูงบ้าง เวลาว่างๆก็ไปเฮฮากับเพื่อนๆบ้าง
โดยเฉพาะ กับ กลุ่ม "หมูกัดเสือ" ก็จะพบกันบ่อยๆ
คุยเรื่องนกที่เราเองก็ชอบอยู่แล้ว สนุกสนาน หัวเราะครื้นเครง เฮฮากันตลอด
ที่สำคัญที่สุดขอย้ำว่า "อย่าเครียด"
"กลุ่มหมูกัดเสือ" พี่สุราษฎร์ ก็ถือเป็นพี่ใหญ่ พวกเรามักเรียกพี่ว่า "นายก" หรือ "อาก้อ ซึ่งแปลว่าพี่ชาย ตามภาษาจีน"
ซึ่งเชื่อไหมครับว่า วันเวลาผ่านมากว่า 30 ปี ที่กลุ่มเรา นัดพบปะกัน ทานอาหารร่วมกัน
มีกิจกรรมร่วมกัน มีการแข่งขันกันเองในกลุ่ม มีความสุขทุกครั้งที่พบกัน สนุกสนาน
เฮฮา เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และ เสียงหัวเราะ
กลุ่มเราเวลานัดกัน ถ้าไม่ครบคน ก็ไม่นัด จะเลื่อนออกไปจนกว่าจะครบคนครับ
น้อยครั้งมากที่จะมาไม่ครบ ยกเว้นติดธุระกระทันหันในวันนั้นพอดี
21) ในฐานะที่พี่เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการนกพิราบแข่ง เป็นพี่ใหญ่เป็นสุภาพบุรุษของวงการนกพิราบแข่ง
พี่อยากที่จะเห็นวงการนกพิราบแข่งเป็นอย่างไรบ้างครับ?
ผมเองก็อยู่ในวงการนกพิราบแข่งมานานหลายๆสิบปีแล้ว ผ่านการจัดการแข่งขันมามากมาย
เวลานี้การจัดการแข่งขันก็ได้พัฒนาดีขึ้นมามากกว่าสมัยก่อนมาก
การตัดสินและรายงานผลการแข่งขันนั้นก็รวดเร็วขึ้นมาก ตามยุคตามสมัยที่เทคโนโลยีเอื้ออำนวย
สิ่งที่ผมเองอยากจะเห็นก็คือ อยากเห็นทุกๆสมาคมที่จัดการแข่งขันนั้นมีการจัดการแข่งขันร่วมกัน
อย่างเช่นจุดสุดท้ายอย่างน้อยก็ปีละครั้ง หรือ สายละครั้ง เพื่อชิงแชมป์ที่หนึ่งของประเทศไทยประจำปี
จะเป็นการพัฒนาการเลี้ยงนก สายพันธุ์ และ ที่สำคัญเป็นการแสดงออกถึง
ความร่วมมือกันระหว่างสมาคมนกพิราบแข่งในประเทศไทย
สำหรับผู้ที่ชนะการแข่งขันก็จะถือเป็นแชมป์ของประเทศไทย ประจำปี ประจำสายของการแข่งขัน
.................................................................................................................................................
สุดท้ายผมต้องขอขอบพระคุณพี่สุราษฎร์เป็นอย่างสูงครับ ที่ได้สละเวลาให้กับทีมงาน FCL
ได้มีโอกาสนำเรื่องราวของพี่และนก มาแบ่งปันเป็นความรู้ ให้คำแนะนำ และ
ให้แง่คิดดีๆ กับนักเลี้ยงนกใหม่เช่นกัน
สำหรับผมเอง ผมได้รู้จักกับพี่สุราษฎ์มานานมากแล้ว ก็ยังคงยืนยันในความเป็นพี่ชายที่แสนดี
มีทัศนคติที่ดี กับ การพัฒนาวงการนกมาตลอด
ผมจำได้ว่าสมาคมส่งเสริมฯตอนนั้นเป็นสมาคมแรกที่ได้นำ
ระบบการวัดพิกัดกรง ระยะทางอากาศ แบบสากล
มาใช้แทนระบบช่องที่ระบุแบบตายตัวช่องละ 12 วินาที
ผมได้พบกับพี่เขาครั้งแรกก็ปี 1978 ผมและเพื่อนได้ไปเยี่ยมพี่สุราษฎร์ที่กรงพี่เขาที่สีลม
อยู่บนตึกสูงสมัยนั้น พี่เขายังได้ให้ไข่นกกับพวกเรา จากนั้นก็ได้ไปหาพี่เขาอีกหลายครั้ง
มีอยู่ครั้งหนึ่งจำได้ว่า เฮียฮง เฮียติ๊ก เซียนนกดังที่ตรอกจันทร์ที่แข่งในนาม " วิรัตน์ ตนุเศรษฐ์ "
ก็ได้รับไข่นกจากพี่สุราษฎร์ เชื่อไหมว่าเจ้าไข่สองใบนั้นเป็นนกแข่งชนะที่ 1 และ 2 แม่สาย
ต่อมาเฮียติ๊กก็นำเจ้าแชมป์ที่ 1 และ 2 แม่สายมาเข้าคู่ด้วยกัน
ลูกสาวของมันก็เป็นแชมป์ถ้วยพระราชทาน ถ้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่ 1 ลำปาง ครับ
พี่โตแห่งกรงสุขสันต์ จิรจริยาเวช ก็นำสายเลือดม็อตต้าชนะที่ 1 ถ้วยพระราชทานเชียงราย และ
นกเก่งชนะถ้วยมากมายที่สมัยนั้นดังมาก พี่โตตั้งสายนี้ว่า Robert 5 K
พ่อนกก็เป็นนกแจนเซ่น สายเมิกคซ์ และ แม่นกเป็นนกมาจากพี่สุราษฎร์
ทุกวันนี้ผมดีใจมากๆที่เห็นพี่สุราษฎร์ยังคงแข่งนก มีสุขภาพที่ดี แข็งแรงมากๆ
ผมกับพี่สุราษฎร์เราก็มักจะนัดทานข้าวกันบ่อยๆกับพี่ๆในกลุ่ม “หมูกัดเสือ”
พี่เขาสนุกสนาน เป็นกันเอง หัวเราะชอบใจ ไม่โกรธที่โดนเพื่อนๆ น้องๆแซว (โดนบ่อยมากๆ 555)
เป็นพี่ใหญ่ เป็นพี่ชายที่แสนดี ที่น่ารักตลอดครับ
สุดท้ายผมก็ขอขอบพระคุณพี่สุราษฏร์ นายกในดวงใจ อีกครั้ง
ที่ได้แบ่งปันเรื่องราวดีๆให้กับพวกเรา และ
ขอให้พี่สุราษฎร์ มีความสุข มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง
อยู่คู่กับกีฬานกพิราบแข่งของไทยเราตลอดไปครับ
เนื่องจากเรื่องราวดีๆของพี่สุราษฎร์ กับ นกพิราบแข่งนั้นมีมากมาย
ก็ขอจบตอนที่ 1 ไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ
ตอนที่ 2 นั้น กำลังจัดทำอยู่ครับ
………………………………………………………………………………………………………………………………………….
วงการนกพิราบแข่งในเมืองไทยเรา จะมีสักกี่กรงเมื่อเราเอ่ยถึงชื่อกรงแล้วจะนึกได้ว่าเป็นกรงของใคร
แน่นอนหนึ่งในนั้นก็คือ “ บรองโก้ ” เชื่อว่านักเลี้ยงนกจำนวนมากหรือแถบจะทั้งหมด ถ้าเลี้ยงนกพิราบแข่งกันมานานพอควร
ก็จะทราบกันดีว่าเป็นกรงของพี่ “สุราษฎร์ วนิชประภา”
กรงนี้ เป็นอมตะของวงการนกพิราบแข่งมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สำหรับพี่สุราษฎร์ วงการนกเรารู้จักกันดีว่าเป็นนายกของสมาคมส่งเสริมฯ เป็นพี่ชายที่แสนดี เป็นเพื่อนที่เพื่อนต่างก็รักสุดใจ
เป็นสุภาพบุรุษของวงการนกพิราบแข่งเรา จริงใจกับวงการนก ให้การสนับสนุนวงการนกพิราบแข่งด้วยดีมาตลอด
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของสมาคมจนก้าวไกลถึงการแข่งแบบนานาชาติที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่เรารู้จักกันดี ในการแข่งขันระดับตำนานที่เรียกกันว่า
Asia Pacific Racing Pigeon Conference
ซึ่งทุกสมาคมนกพิราบแข่งที่จัดการแข่งขันในตอนนั้นร่วมมือกันจัดขึ้น เป็นความภาคภูมิใจของนักเลี้ยงนกไทยเราซึ่งตอนนั้นบอกได้ว่ากว่าจะทำออกมาได้สำเร็จนั้นไม่ง่ายเลยครับ
อุปสรรคและปัญหานั้นมากมายแต่พี่สุราษฎร์ และ ผู้บริหารในสมัยนั้นช่วยกันผลักดันให้สำเร็จได้ด้วยดี
สำหรับวันนี้ ทีมงาน FCL เรา ได้รับเกียรติจากพี่สุราษฎร์ ได้ให้โอกาสพวกเราได้พูดคุยและให้เราได้รู้จักพี่สุราษฎร์ และ นกของพี่เขามากขึ้น
เนื่องจากกรงพี่สุราฎร์นั้นได้แข่งนกมานานมากกว่า 50 ปี ดังนั้นเรื่องผลงาน เรื่องถ้วยรางวัล นั้นมีมากมายเป็นหลายร้อยถ้วย
ก็ขอตัดช่วงในอดีตเก่าๆออก และ ขอนำเสนอเรื่องราวในปัจจุบันกันครับ
ผมขอเริ่ม และ เรียนถามดังนี้ครับ
1) ผมของรบกวนพี่ช่วยแนะนำตัวเองหน่อยครับ?
สุราษฎร์ วนิชประภา คือชื่อจริงของผมปัจจุบันอายุ 79 ปี เป็นเจ้าของกิจการ รับผลิตสายไฟฟ้าสายลำโพง สายเครื่องเสียง และ
สายสั่งทำทุกชนิดตามแบบของลูกค้า
โรงงานก็ตั้งอยู่ที่ ซอยเพชรเกษม69 แยก 3 ก็แถว บางแค
ซึ่งท่านใดสนใจติดต่องานก็โทรได้ที่02-4443196, 0831990552
รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ มาจากนก C 11 00705 กระ ป/ข
ที่ 1 ถ้วยพระราชทาน การแข่งขันนานาชาติ FCI จุด อ.พล
เจ้า C 11 00705 พ่อแม่นก เป็นสายพันธุ์นกที่มาจากคุณหมูใหญ๋ ปากน้ำ
พ่อของมันคือ C 08 00324 แม่ของมันคือ C 06 12382
พ่อนกเป็นพ่อพันธุ์ที่ให้ลูกดีมากๆ ให้ลูกถ้วยหลายใบ รวมถึงนกตัวเก่ง C 15 00171
2) พี่รู้จักนกพิราบแข่ง และ เริ่มเลี้ยงนกพิราบแข่งตั้งแต่เมื่อไรครับ?
ผมเลี้ยงนกตั้งแต่อายุ 12 ปี ตอนนั้นบ้านอยู่แถววงเวียน 22 กรกฎา แถวสามแยกเฉลิมบุรีเก่าตอนนั้นชอบเลี้ยงแต่ไม่ได้แข่งขัน
แต่ก็มีเอานกไปปล่อยซ้อมใกล้ๆบ้าง ก็ขอให้นกกลับกรงก็พอใจละครับในตอนนั้น หลังจากนั้นอีกหลายปีก็ย้ายมาอยู่ที่สีลม
ก็เริ่มเลี้ยงนกเพื่อแข่งขันโดยได้พันธุ์นกมาจากคุณประทีป พยักฆาภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมในสมัยนั้นได้ให้ไข่นกมาฟักเอง
ก็เริ่มแข่งแต่ก็เลี้ยงแข่งได้ไม่นานก็ต้องหยุดเพราะผมต้องไปเรียนต่อที่ประเทศอเมริกา จนจบปริญญาตรี ก็ไม่ได้เลี้ยงนกประมาณ 5 ปี
ช่วงนั้นน้องชายคนเล็กเขาชอบก็เลี้ยงนกต่อจนผมเรียนจบกลับมาเมืองไทยปี 1968 ก็สร้างกรงนกแข่งใหม่และใหญ่กว่าเดิม ตรงตึกที่สีลม
ตอนนั้นจำได้ว่านกที่คุณประทีปให้ไข่มาเหลือไม่กี่ตัวคุณประทีปก็ใจดีได้ให้ไข่นกชุดใหม่มาอีก และ
ผมก็ได้ขอให้คุณประทีปช่วยสั่งนกนอกของ VANHEE และ PONDOROSA (EIJERKAMP) เข้ามาเพิ่มเติมเสริมทีมนกพันธุ์
สำหรับ VANHEE ตอนนั้นก็ได้ลูกนกดังมากๆของเขาคือ MOTTA ม็อตต้า ก็เป็นต้นกำเนิดของนกสายพันธุ์ม็อตต้าในเมืองไทย
ซึ่งผมก็ได้แจกจ่ายลูกหลานนกพวกนี้ให้เพื่อนๆไปเล่น และ เก่งๆกันหลายคน ได้ชนะถ้วยพระราชทาน และ ถ้วยสมาคมกันมากมายเช่นกัน
ถ้าใครเคยไปเที่ยวกรงพี่สุราษฎร์ที่ถนนสีลม บนตึกธนาคารศรีนครสมัยนั้น จะเห็นภาพวาดสีน้ำมันของเจ้า Motta ประดับกำแพงอยู่
พี่น้องตระกูล VANHEE เป็นนักเลี้ยงนกที่ดังมากๆ เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของวงการนกของเบลเยี่ยม
ปัจจุบันลูกสาวเขา Annemie ก็หันมาดูแลธุรกิจทั้ง อาหาร ยา และ นก
โดยยังคงเน้นชื่อ VANHEE เป็นจุดขาย
3) ปัจจุบันพี่มีกรงนกแข่ง และ นกพันธุ์อยู่ที่ไหนบ้างครับ?
ปัจจุบันนกทั้งหมดก็อยู่ที่เดียวคือที่ ซอยเพชรเกษม 69 ก็อยู่บนตึกของโรงงาน
ภาพบริเวณหน้ากรงนก เป็นกรงที่ใหญ่มากเหมือนกัน และ นกอยู่สบายมากๆ
กรงนกพันธุ์ตัวผู้
กรงนกพันธุ์ตัวเมีย
การเข้าคู่นกเป็นกรงเหล็กเหมือนกรงทั่วๆไป
นกแข่งกำลังกินข้าว พื้นกรงส่วนใหญ่จะเป็นตระแกรง แข็งแรกมาก
4) มีเพื่อนๆฝากถามกันมามากว่า “บรองโก้ ” คือ ชื่อของอะไรครับ ทำไมพี่ถึงเลือกใช้ชื่อนี้เป็นชื่อกรงของพี่ครับ?
“บรองโก้” ชื่อนี้ก็เปรียบเสมือนสัญญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนที่อเมริกา ที่ Oklahoma Center Stage University
บรองโก้เป็นทีมอเมริกันฟุตบอลที่ดังมาก ผมก็ชอบชื่อนี้มาก มีความทรงจำที่ดีๆที่ตอนเรียนอยู่ที่นั่น
ก็เลยนำชื่อ “บรองโก้” มาเป็นชื่อของกรงผมครับ
5) มาถึงเรื่องของนกพันธุ์ พี่ได้มาจากที่ไหนบ้าง? หลักเกณฑ์ในการสรรหานกพันธุ์ มีอะไรบ้างครับ?
ถ้าตัดช่วงแรกๆที่ได้นกจากคุณประทีป และ สั่งนกนอกเข้ามาเล่นเองนั้นอิทธิพลของนกพันธุ์ช่วงหลังๆนี้ก็มาจาก
คุณวิสูตร หรือ ชื่อที่วงการนกเรามักเลี้ยงกันว่า “เฮียหมูใหญ่ ปากน้ำ” ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกมูลิแมน แจนเซ่น
ก็โชคดีที่ได้นกเขามาตอนเขาเลิกเลี้ยง ได้มากค่อนข้างมากประมาณ 200 ตัว แถบจะยกกรงก็ว่าได้
นกพวกนี้ดีนะ ให้ลูกแข่งได้ถ้วยรางวัลมากมาย ชนะการแข่งขันดีมาตลอดทุกวันนี้ และ
การพัฒนาเสริมสายพันธุ์นกครั้งล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีนี้ ก็เป็นการนำนกระดับสุดยอดของ
"คุณศิริชัย บุลกุล" เข้ามาทำพันธุ์ประมาณ 100 กว่าตัว
ตอนที่คุณศิริชัยตัดสินใจเลิกเลี้ยงหลังจากนั้นก็ไม่ได้ซื้อนกที่ไหนอีกเลย
ส่วนมากผมก็นำนกของทั้ง2ท่านนี้มาผสมกัน ก็ได้ผลงานที่ดีมากเช่นกัน
6) การให้อาหาร และ ยา สำหรับ นกพันธุ์ ช่วงไม่เข้าคู่ และ ช่วงเข้าคู่นก ของพี่เป็นอย่างไรครับ?
สำหรับการให้อาหารนกพันธุ์ ช่วงที่ไม่ได้เข้าคู่นั้น ผมจะเน้นไปที่ ข้าวเปลือกเม็ดสั้น โดยมีข้าวโพด
และ ถั่วผสม ไม่มาก เพื่อกันไม่ให้นกอ้วนเกินไป
ส่วนช่วงก่อนเข้าคู่นก ก็จะมีการถ่ายพยาธิ และ ให้ยากัน Canker และ เพิ่มถั่วนอก อาหารเสริม
เพื่อให้นกสมบูรณ์ขึ้นให้สมบูรณ์เต็มที่เพื่อพร้อมเข้าคู่นก
7) หลักการในการเข้าคู่นกเพื่อแข่ง หรือ เก็บทำพันธุ์ ของพี่เป็นอย่างไรครับ?
หลักๆแล้ว วิธีการเข้าคู่นกของผมนั้น จะเน้นไปที่ “ผลงาน” ของนกเป็นเกณฑ์
โดยนำนกที่มีผลการแข่งขันที่ดีมากๆ มาเข้าคู่กัน หรือ นกที่มีผลงานดีๆ มาเข้ากับนกที่บรีดไว้เพื่อทำพันธุ์
เพิ่มเติมจากสายพันธุ์ที่ดีแล้วผมก็จะเน้นไปที่นกที่มีรูปร่างที่ดี มีความสมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง
ก็จะนำมาผสมทั้งเพื่อแข่ง หรือ เก็บทำพันธุ์ การเข้าคู่นั้นก็มีทั้งแบบ Line breed และ Inbreed
8) ถ้าให้เน้นในการเข้าคู่นกเพื่อเป็นนกแข่ง พี่เน้นไปทางไหนครับ?
ก็เช่นเดียวกันกับที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ ผมก็จะเน้นที่นกแข่งที่มีผลงานที่ดี มาเข้ากับนกที่ให้ลูกหลานบินมีผลงานที่ดี
พวกนี้ก็จะมาใส่ห่วงแข่งขันต่อไป
9) พี่แข่งนกสายไหนบ้าง และ ที่กรงไหนครับ? จำนวนนกแข่งในแต่ละกรง แต่ละสายด้วยครับ?
กรงผมจะแข่งสายเหนือ และ ใต้เป็นหลัก ก็มีเพาะเพิ่มเติมไปแข่งที่กรงอินเตอร์บ้าง
ซึ่งแต่ละสายผมก็จะเพาะนกแข่งประมาณ 70-80 ตัว
ส่วนสายอีสาน กรงผมเองก็เลิกแข่งมาประมาณสัก 4 ปีได้ละ
ก่อนหน้าเชื่อไหมครับ ผมแข่งสายอีสานที่นี่ ที่เพชรเกษมนี่ละครับ แต่
เพราะทางนกเข้านั้นสู้ไม่ได้เลย ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นเพาะไปส่งแข่งที่กรงอินเตอร์แทน
10) มีฝากนกแข่งกรงอินเตอร์ และ นานาชาติ One loft race ในเมืองไทยไหมครับ? ส่งที่ไหนครับ?
ผมเองก็มีเพาะนกไปฝากกรงอินเตอร์อยู่ 3-4 กรงนะและ
ก็มีส่งนกแข่งแบบ One loft race ของทั้งพัทยา และ มหกรรมฯที่กรุงเทพฯ
11) สูตรอาหารนกอัตราส่วนมีอะไรบ้างครับ ในช่วงที่เป็นลูกนก นกเริ่มบิน
ช่วงซ้อม ช่วงแข่งระยะใกล้-กลาง และ ออกระยะทางไกล?
ช่วงลูกนกก็จะเน้นโปรตีนโดยให้ถั่วมาก มีอาหารเสริม ส่วนข้าวโพดจะให้น้อย
ส่วนระยะทางไกลนั้นก็จะมีการเพิ่มถั่วลิสง มากน้อยก็จะอยู่กับน้ำหนักของนกเป็นหลัก
12) การให้ยา วิตามิน สำหรับนกแข่ง พี่ให้อะไรบ้างครับ?
ส่วนใหญ่ผมให้ก็เป็นพวกยา วิตามิน ของพวกสัตว์ปีกนะ เพราะราคาถูกกว่าของนกพิราบมาก
ส่วนยาบางอย่างผมก็ใช้ของที่ผลิตมาเพื่อนกบ้าง ที่กรงก็มีการให้นกแข่งดื่มพวกอีเลคโตรไลท์ด้วย
13) การซ้อมนก พี่ออกซ้อมเอง หรือ ฝากคนอื่นซ้อม และ ระยะทางที่ซ้อมประมาณเท่าไร? ซ้อมสัปดาห์ละกี่ครั้ง?
ผมไม่ได้ซ้อมนกเองครับ จะฝากนกที่รับซ้อมนกไป ส่วนใหญ่ก็ซ้อมอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ใกล้ 2 และ ไกล 1 ครั้ง
14) ผลงานที่เด่นๆ ของกรงพี่ มีอะไรบ้างครับ?
ก็เอาผลงานล่าสุดละกัน ปี 2018 ก็ได้ถ้วยมาหลายใบนะ
ที่ 1 ตะพานหินที่ 3 อุตรดิตถ์ (ฝากแข่งที่กรงคุณโชคชัย พูนพล)
ที่ 1 อุดรธานี (ฝากแข่งที่กรงคุณเทียนชัย) ที่ 1 โคราช แข่งที่กรงคุณศักดิ์ดาชัย
ภาพนกที่ชนะถ้วยรางวัล ก็นำมาให้ชมกัน
C 16 82330 เทา เมีย ชนะที่ 1 หลังสวน
H 07 92452 เทา ป/ข ผู้ พ่อพันธุ์ตัวเก่ง ให้ลูกถ้วย 5 ใบ
C 08 00324 เทา ผู้ พ่อพันธุ์ตัวเก่ง ให้ลูกถ้วย 4 ใบ
C 15 00171 กระ ผู้ ชนะถ้วย 2 ใบ
15) พี่คิดว่าการแข่งนกนั้น อะไรเป็นเรื่องที่สำคัญ และ ทำให้ประสบความสำเร็จได้ครับ?
นกพิราบแข่งเป็นอะไรที่ต้องละเอียด เราจะต้องดูแลนกตั้งแต่เข้าคู่ เลือกนกที่ดีเข้าคู่
ดูแลความสมบูรณ์ของนกตั้งแต่ลูกนกให้แข็งแรงที่สุดตลอดจนถึงแข่ง
เพราะ ถ้าลูกนกไม่แข็งแรงก็แพ้ตั้งแต่เริ่มต้น
ส่วนใหญ่อยู่ก็ไม่ถึงแข่งเริ่มซ้อมก็หายไปแล้วก็มีเยอะ
ดังนั้นการเลี้ยงนกแข่งต้องเลี้ยงให้ดีอย่างสม่ำเสมอ
16) สำหรับการเลี้ยงนกพิราบแข่ง พี่มีการตั้งเป้าหมายไว้ยังไงบ้างครับ?
การเลี้ยงนกพิราบแข่งนั้นผมถือเป็น “งานอดิเรก” จริงๆ
ผมมีความสุขที่ได้เลี้ยงนกมาตั้งแต่เด็ก ผมไม่ได้ยึดเป็นอาชีพเลยครับ
สิ่งที่ผมตั้งใจและเป็นเป้าหมายสูงสุดคือ นกชนะที่กรงได้ถ้วยพระราชทานสัก 1 ใบ ไว้เป็นเกียรติ
ผมเคยชนะได้ด้วยพระราชทานจากการแข่งขันนานาชาติมาแล้ว
ถ้วยที่ประทับใจนอกจากถ้วยพระราชทาน แล้ว ผมเคยชนะถ้วยประดับทองคำของสมาคมส่งเสริม 2 ครั้ง
สมัยนั้นทองคำหนัก 10 บาทนะครับ ชนะสายเหนือจุดลำปาง และสายใต้จุดชุมพร
นอกนั้นก็ชนะได้ถ้วยรางวัลของสมาคมมามากมาย จำไม่ได้ละครับว่ากี่ใบ ก็น่าจะหลายร้อยใบละครับ
17) อยากให้พี่ช่วยให้แง่คิดสำหรับคนเลี้ยงใหม่ ว่า ควรจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้างเพื่อประสบความสำเร็จในการเลี้ยงนกพิราบแข่ง ?
เรื่องสายพันธุ์ ถ้าอยากที่จะเรียนทางลัดก็คงต้องไปหาซื้อนกจากกรงที่เขามีผลการแข่งที่ดีๆ และ
มีผลงานสม่ำเสมอ และ ผลงานที่ว่านั้น สำคัญนะต้องอยู่ในยุคปัจจุบัน และ จะต้องศึกษาวิธีการเลี้ยง
เทคนิคต่างๆจากกรงที่ซื้อมาด้วย
เรื่องทำเลที่ตั้งของกรงนกแข่ง นี่ก็สำคัญ กรงนกต้องอยู่ในทำเลที่นกเข้าได้ดี
ทำเลไม่ดีเสียเปรียบมากเหมือนสายอีสานของผมจะชนะอันดับดีๆนั้นยาก
การเลี้ยงดูแลนกนั้นต้องสม่ำเสมอ ต้องให้เวลา ต้องมีระเบียบวินัยที่ดี เพราะ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือนกจะต้อง...แข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยที่ดี
ศึกษาวิธีดูแลรักษาโรค การให้ยาที่ถูกต้อง และ ควรจะต้องทำวัคซีนต่างๆให้กับนกเพื่อป้องกันโรคด้วย
18) ประทับใจอะไรที่สุดครับ สำหรับ การเลี้ยงนก?
การเลี้ยงนกพิราบแข่ง มันไม่เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์อย่างอื่น มันเป็นทั้ง " ศาสตร์ และ ศิลป์ "
ที่เราจะต้องศึกษา ต้องเรียนรู้ ต้องมีความตั้งใจจริง
มันไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วไปซื้อนกเก่งๆ มาเข้าคู่ แล้วลูกของมันจะบินเก่งแน่นอน
มันไม่มีอะไรมาการันตีว่าลูกหลานมันจะบินเก่ง
มันไม่ง่ายแบบนั้นหรอกครับ บางทีก็เก่งตัวผู้ บางทีก็เก่งตัวเมีย และ ที่ไม่เก่งเลยก็มีเยอะนะ
การเลี้ยงนกต้องเอาใจใส่ดูแลมันตั้งแต่เข้าคู่เป็นไข่ เป็นตัว จนส่งแข่งจนจบการแข่งขัน
มันเลยเป็นการเลี้ยงดูและผูกพันธ์กัน
19) พี่สุราษฎร์ ตอนนี้ยังเป็นนายกสมาคมส่งเสริมฯ ใช่ไหมครับ? และ ปัจจุบัน การจัดการแข่งขันยังมีอยู่ไหมครับ?
เห็นว่าเปลี่ยนการจัดเป็นชมรมอนุรักษ์นกแข่ง ใช่ไหมครับ?
ใช่ครับผมก็ยังเป็นนายกสมาคมส่งเสริมฯอยู่ เพียงแต่เราไม่ได้จัดกิจกรรมการแข่งนกเท่านั้น
การจัดการแข่งขันก็อย่างที่เราทราบกันตอนนี้ดำเนินการแข่งขันโดย
"สมาคมอนุรักษ์นกพิราบแข่งฯ" เขาได้จดขอทะเบียนใหม่
ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาคมส่งเสริมฯ ผมเองก็ส่งนกแข่งที่นี่ครับ
รางวัลเกียรติยศ ที่ทางคณะกรรมการบริหาร และ การจัดการแข่งขัน ของสมาคมฯ ได้มอบให้กับพี่สุราษฎร์
อีกหนึ่งรางวัลที่ทางต่างประเทศได้มอบให้กับพี่สุราษฎร์ ในการเสียสละ และ อุทิศตนและเวลา
ให้กับการพัฒนาวงการนกพิราบแข่งของประเทศไทย
20) ปีนี้พี่สุราษฎร์ อายุเท่าไรครับ? พี่ดูหนุ่มมากๆ ขอหลักการดูแลสุขภาพของพี่ตั้งแต่ตอนเป็นหนุ่ม
จนถึงปัจจุบัน หน่อยครับ น้องๆจะได้รู้และดูแลร่างกายตามพี่ครับ?
ปีนี้ผมอายู 79 ปีแล้วครับ ผมเลี้ยงนกตั้งแต่เด็กมันก็เหมือนการออกกำลังกายแบบหนึ่ง
ตอนนี้ผมก็ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนมากๆ ที่สำคัญอย่าเครียดเป็นอันขาด
ทำอะไรก็ได้ที่ถูก ที่ควร และ คิดว่าสบายใจก็ทำ
พบปะเพื่อนฝูงบ้าง เวลาว่างๆก็ไปเฮฮากับเพื่อนๆบ้าง
โดยเฉพาะ กับ กลุ่ม "หมูกัดเสือ" ก็จะพบกันบ่อยๆ
คุยเรื่องนกที่เราเองก็ชอบอยู่แล้ว สนุกสนาน หัวเราะครื้นเครง เฮฮากันตลอด
ที่สำคัญที่สุดขอย้ำว่า "อย่าเครียด"
"กลุ่มหมูกัดเสือ" พี่สุราษฎร์ ก็ถือเป็นพี่ใหญ่ พวกเรามักเรียกพี่ว่า "นายก" หรือ "อาก้อ ซึ่งแปลว่าพี่ชาย ตามภาษาจีน"
ซึ่งเชื่อไหมครับว่า วันเวลาผ่านมากว่า 30 ปี ที่กลุ่มเรา นัดพบปะกัน ทานอาหารร่วมกัน
มีกิจกรรมร่วมกัน มีการแข่งขันกันเองในกลุ่ม มีความสุขทุกครั้งที่พบกัน สนุกสนาน
เฮฮา เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และ เสียงหัวเราะ
กลุ่มเราเวลานัดกัน ถ้าไม่ครบคน ก็ไม่นัด จะเลื่อนออกไปจนกว่าจะครบคนครับ
น้อยครั้งมากที่จะมาไม่ครบ ยกเว้นติดธุระกระทันหันในวันนั้นพอดี
21) ในฐานะที่พี่เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการนกพิราบแข่ง เป็นพี่ใหญ่เป็นสุภาพบุรุษของวงการนกพิราบแข่ง
พี่อยากที่จะเห็นวงการนกพิราบแข่งเป็นอย่างไรบ้างครับ?
ผมเองก็อยู่ในวงการนกพิราบแข่งมานานหลายๆสิบปีแล้ว ผ่านการจัดการแข่งขันมามากมาย
เวลานี้การจัดการแข่งขันก็ได้พัฒนาดีขึ้นมามากกว่าสมัยก่อนมาก
การตัดสินและรายงานผลการแข่งขันนั้นก็รวดเร็วขึ้นมาก ตามยุคตามสมัยที่เทคโนโลยีเอื้ออำนวย
สิ่งที่ผมเองอยากจะเห็นก็คือ อยากเห็นทุกๆสมาคมที่จัดการแข่งขันนั้นมีการจัดการแข่งขันร่วมกัน
อย่างเช่นจุดสุดท้ายอย่างน้อยก็ปีละครั้ง หรือ สายละครั้ง เพื่อชิงแชมป์ที่หนึ่งของประเทศไทยประจำปี
จะเป็นการพัฒนาการเลี้ยงนก สายพันธุ์ และ ที่สำคัญเป็นการแสดงออกถึง
ความร่วมมือกันระหว่างสมาคมนกพิราบแข่งในประเทศไทย
สำหรับผู้ที่ชนะการแข่งขันก็จะถือเป็นแชมป์ของประเทศไทย ประจำปี ประจำสายของการแข่งขัน
.................................................................................................................................................
สุดท้ายผมต้องขอขอบพระคุณพี่สุราษฎร์เป็นอย่างสูงครับ ที่ได้สละเวลาให้กับทีมงาน FCL
ได้มีโอกาสนำเรื่องราวของพี่และนก มาแบ่งปันเป็นความรู้ ให้คำแนะนำ และ
ให้แง่คิดดีๆ กับนักเลี้ยงนกใหม่เช่นกัน
สำหรับผมเอง ผมได้รู้จักกับพี่สุราษฎ์มานานมากแล้ว ก็ยังคงยืนยันในความเป็นพี่ชายที่แสนดี
มีทัศนคติที่ดี กับ การพัฒนาวงการนกมาตลอด
ผมจำได้ว่าสมาคมส่งเสริมฯตอนนั้นเป็นสมาคมแรกที่ได้นำ
ระบบการวัดพิกัดกรง ระยะทางอากาศ แบบสากล
มาใช้แทนระบบช่องที่ระบุแบบตายตัวช่องละ 12 วินาที
ผมได้พบกับพี่เขาครั้งแรกก็ปี 1978 ผมและเพื่อนได้ไปเยี่ยมพี่สุราษฎร์ที่กรงพี่เขาที่สีลม
อยู่บนตึกสูงสมัยนั้น พี่เขายังได้ให้ไข่นกกับพวกเรา จากนั้นก็ได้ไปหาพี่เขาอีกหลายครั้ง
มีอยู่ครั้งหนึ่งจำได้ว่า เฮียฮง เฮียติ๊ก เซียนนกดังที่ตรอกจันทร์ที่แข่งในนาม " วิรัตน์ ตนุเศรษฐ์ "
ก็ได้รับไข่นกจากพี่สุราษฎร์ เชื่อไหมว่าเจ้าไข่สองใบนั้นเป็นนกแข่งชนะที่ 1 และ 2 แม่สาย
ต่อมาเฮียติ๊กก็นำเจ้าแชมป์ที่ 1 และ 2 แม่สายมาเข้าคู่ด้วยกัน
ลูกสาวของมันก็เป็นแชมป์ถ้วยพระราชทาน ถ้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่ 1 ลำปาง ครับ
พี่โตแห่งกรงสุขสันต์ จิรจริยาเวช ก็นำสายเลือดม็อตต้าชนะที่ 1 ถ้วยพระราชทานเชียงราย และ
นกเก่งชนะถ้วยมากมายที่สมัยนั้นดังมาก พี่โตตั้งสายนี้ว่า Robert 5 K
พ่อนกก็เป็นนกแจนเซ่น สายเมิกคซ์ และ แม่นกเป็นนกมาจากพี่สุราษฎร์
ทุกวันนี้ผมดีใจมากๆที่เห็นพี่สุราษฎร์ยังคงแข่งนก มีสุขภาพที่ดี แข็งแรงมากๆ
ผมกับพี่สุราษฎร์เราก็มักจะนัดทานข้าวกันบ่อยๆกับพี่ๆในกลุ่ม “หมูกัดเสือ”
พี่เขาสนุกสนาน เป็นกันเอง หัวเราะชอบใจ ไม่โกรธที่โดนเพื่อนๆ น้องๆแซว (โดนบ่อยมากๆ 555)
เป็นพี่ใหญ่ เป็นพี่ชายที่แสนดี ที่น่ารักตลอดครับ
สุดท้ายผมก็ขอขอบพระคุณพี่สุราษฏร์ นายกในดวงใจ อีกครั้ง
ที่ได้แบ่งปันเรื่องราวดีๆให้กับพวกเรา และ
ขอให้พี่สุราษฎร์ มีความสุข มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง
อยู่คู่กับกีฬานกพิราบแข่งของไทยเราตลอดไปครับ
เนื่องจากเรื่องราวดีๆของพี่สุราษฎร์ กับ นกพิราบแข่งนั้นมีมากมาย
ก็ขอจบตอนที่ 1 ไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ
ตอนที่ 2 นั้น กำลังจัดทำอยู่ครับ
………………………………………………………………………………………………………………………………………….