การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการแข่งขันนกพิราบแข่ง
![](/images/icon/icon_date.png)
![](/images/icon/icon_reply_stat.png)
![](/images/icon/icon_view_stat.png)
สวัสดีครับ ช่วงเดือนธันวาคม และ มกราคม ผมไม่ได้เขียนหรือแปลบทความอะไรมากนัก เพราะ
ผมไปเยี่ยมลูกชายและอยู่กับเขาที่อเมริกา เขาเรียนอยู่ที่ USC ครับ ช่วงนั้นก็มีบทความหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
การดูแลนกพิราบแข่งของต่างประเทศส่งมาจาก ดร.วิทยา ส่งมาให้ผมช่วยแปล และ เป็นความรู้กับเพื่อนนักเลี้ยงนกกันครับ
จริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่เพียงแต่เขาสรุป และ แบ่งออกเป็นช่วงเวลาของนกได้น่าสนใจดีครับ ผมเองก็เรียบเรียงและเพิ่มเติมบางส่วนเข้าไปเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ก็ขอขอบพระคุณ ดร.วิทยา ด้วยนะครับ พี่เขามักจะมีบทความดีๆส่งถึงกันเสมอครับ
![](/uploads/1774/images/pigeon%20and%20basket.jpg)
การบริหารจัดการมีบทบาทสำคัญในการแข่งขันนกพิราบแข่ง และ นี่คือข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักเลี้ยงนก
การจัดการก่อนการแข่งขัน
1. การฝึกและเตรียมความพร้อม:
โปรแกรมออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นสิ่งที่สำคัญ มันช่วยเพิ่มความแข็งแกร่ง และความทนทาน
ให้กับนกพิราบแข่ง การวางแผนที่ดีสำคัญครับ
![](/uploads/1774/images/fly%20around%20loft.jpg)
2. โภชนาการและน้ำ:
อาหารที่สมดุล น้ำสะอาด และอิเล็กโทรไลต์ สำคัญกับนกพิราบแข่ง นกแต่ละช่วงของอายุมีความต้องการอาหารที่ต่างกัน
นกเป็นสัตว์ที่ใช้พลังงานในการบิน การซ้อม และ แข่งมาก การชดเชยด้วยอาหาร น้ำที่สะอาด และ
อีเล็กโทรไลต์ สำคัญมากๆครับ
![](/uploads/1774/images/pigeon%20and%20water.jpg)
3. การตรวจสุขภาพ:
หมั่นตรวจเช็กสุขภาพนกตลอดเวลา จับนกเช็คสุขภาพ น้ำหนัก การผลัดขน การกิน และ
มูลของนกที่ถ่ายออกมาสำคัญครับ และ ถ้านกที่มีปัญหาก็นำไปหาสัตวแพทย์
![](/uploads/1774/images/Koopman.jpg)
4. การจัดการโรงเรือน:
กรงนกต้องสะอาด อากาศถ่ายเทดี และ นกปลอดจากความเครียด นกอยู่สบาย ไม่แออัด
การหมุนเวียนของอากาศที่ดี ทำให้นกมีสุขภาพร่างกาย และ จิตใจที่ดีร่าเริง
![](/uploads/1774/images/Inside_Breeding_Section_at_Myrtle_Lofts.jpg)
การจัดการในวันแข่งขัน
1. การเตรียมตัวก่อนปล่อย:
ให้อาหาร น้ำ และ ดูแลอย่างเหมาะสม ให้น้ำสะอาด ไม่ควรผสมอะไร อาหารตามที่นกกินได้ก็ให้กินเป็นปรกติ
แร่ธาตุควรเก็บออกในวันจับนกแข่ง
2. การคัดเลือกนก:
เลือกนกที่มีสภาพร่างกายที่ดี และ ฟอร์มดี รวมถึงพิจารณาสภาพอากาศให้ดีก่อนส่งแข่ง
ไม่ควรเสี่ยงถ้าพยากรณ์อากาศไม่ดีก็ไม่จำเป็นต้องแข่ง
![](/uploads/1774/images/racing-pigeons-008.jpg)
3. การขนส่ง:
ลดความเครียดของนกระหว่างการเดินทาง ตระกร้านกต้องสะอาด นกไม่แออัด กันการจิกตีกัน
ตาเจ็บก็หมดกันครับ แยกเพศของนก และ รถนกส่งซ้อม หรือ แข่งไม่อัดแน่นจนเกินไปซึ่งสมาคมก็ดูแลดีอยู่แล้ว
![](/uploads/1774/images/Pigeons-in-their-basket%2C-Hi.jpg)
4. กลยุทธ์ของการปล่อย:
กำหนดเวลาและสถานที่ปล่อยให้เหมาะสมที่สุด การวางแผนการซ้อมที่ดี ค่อยเป็นค่อยไป
รวมถึงแข่งสำคัญกับนกเสมอครับ นกใกล้ จนถึง นกไกล ล้วนต้องการการดูแลที่ดี ให้เวลาปูทางบิน
ทั้งบินตั้งแต่บ้าน ซ้อม และ แข่ง รวมถึงระยะทางที่เหมาะสม ไม่ควรซ้อม หรือ แข่งแบบกระโดดก้าวข้ามมากเกินไป
![](/uploads/1774/images/release.jpg)
การจัดการหลังการแข่งขัน
1. การฟื้นฟูร่างกาย:
ให้อิเล็กโทรไลต์ น้ำ อาหารเบา เมล็ดเล็กๆหลากหลาย และ ให้นกพักผ่อนอย่างเพียงพอ
![](/uploads/1774/images/details%20champions.jpg)
2. การตรวจสุขภาพ:
สังเกตว่านกมีอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยหรือไม่ จากนั้นดูเรื่องการกินเป็นปรกติไหม มูลขี้ที่ออกมาดีไหม
นกฟื้นตัวได้ดีขนาดไหน ให้ดูทั้งทีม และ รายตัว
3. โภชนาการเสริม:
อาหารที่สมดุลเพื่อช่วยฟื้นตัว และ ดีที่สุดคืออาหารเบา เมล็ดเล็กๆ และ หลากหลาย ในช่วงนกกลับ1-2วัน
แร่ธาตุที่หลากหลาย แบบย่อยง่ายที่ป่นหรือเม็ดเล็ก ก็สำคัญมากเช่นกันครับ
![](/uploads/1774/images/champion(2).jpg)
![](/uploads/1774/images/all%20in%20one.jpg)
4. การวิเคราะห์ข้อมูล:
ติดตามผลการแข่งขันและปรับกลยุทธ์ ผลแข่งจะฟ้องถึงผลงาน ความพร้อมของนก
ความยืดหยุ่นของนกบางตัว หรือ รวมถึงทีมนกมีผลต่อปัจจุบัน และ อนาคต หรือ แม้แต่โชคไม่ดี
ที่วันแข่งนกอากาศเสีย นกกลับผิดเวลาไปมาก หรือ ถ้านกไม่พร้อมสุขภาพไม่ถึงเกณฑ์ ส่งขึ้นแข่งมีแต่
บั่นทอนสุขภาพของนกเพิ่มขึ้น ดูแลจะยากขึ้น การปรับกลยุทธ์สำคัญมากครับ
อีกจุดที่สำคัญคือ ให้มองที่ทีมนกโดยรวมเป็นเกณฑ์ แต่ ก็ต้องจ้องเพ่งเล็งนกเป็นตัวๆเช่นกัน
![](/uploads/1774/images/pigeon%20note%20book.jpg)
การจัดการระยะยาว
1. โปรแกรมการเพาะพันธุ์:
คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีจริงๆ สุขภาพที่ดี นกมีโครงสร้างรูปร่างลักษณะที่ดี ศึกษาเข้าใจถึงระยะหวังผลนกให้ดี
![](/uploads/1774/images/Champion%201.jpg)
2. ความหลากหลายทางพันธุกรรม:
รักษาความหลากหลายของสายพันธุ์ มีหลากหลายย่อมดีกว่า การให้โอกาสนกสำคัญมากครับ
นกแต่ละสายพันธุ์มีความเด่นที่แตกต่างกันได้ ใกล้ กลาง ไกล รวมถึง ดีเด่นแบบตอนสปีดสูง
สปีดปานกลาง สปีดต่ำ ควรเรียนรู้ถึงการเข้าคู่ทั้ง การผ่าเหล่า ไลน์บรีด และ อินบรีด
3. การดูแลโรงเรือน:
ทำความสะอาด ซ่อมแซม และปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ หมั่นสังเกต เรื่อง ลม การถ่ายเทอากาศภายในกรง
แดดเช้าสำคัญมาก และ กันฝนให้ดีด้วย
4. การบันทึกข้อมูล:
ติดตามผลการแข่งขัน สายพันธุ์ และสุขภาพ สมองคนเราจำได้ไม่หมดหรอกครับ
พวกโปรแกรมเพดดีกรีก็ช่วยเก็บข้อมูล และ ช่วยให้เราวิเคราะห์ข้อมูลได้ดีขึ้นเช่นกัน
![](/uploads/1774/images/Loft%20book%20planner.jpg)
ปัจจัยสำคัญ
1. ประสบการณ์และความรู้:
เรียนรู้จาก ผู้เพาะเลี้ยง และ ผู้ฝึก ที่มีประสบการณ์ดีจริงๆ สำคัญครับ
![](/uploads/1774/images/pigeon%20talk.jpg)
2. ความใส่ใจในรายละเอียด:
หมั่นคอยสังเกตุติดตามสุขภาพของนก โภชนาการ และสภาพแวดล้อม อยู่เสมอ
3. ความสามารถในการปรับตัว:
ปรับกลยุทธ์ตามผลการแข่งขัน นอกจากสุขภาพ วิเคราะห์ให้ออกถึง อากาศ ลม ทำเลที่ตั้งของกรงว่าเหมาะกับการแข่งสายไหน ระยะไหนคือช่วงที่หวังผลได้ดีมากที่สุด
4. การทำงานเป็นทีม:
ความร่วมมือระหว่างผู้เพาะเลี้ยง ผู้ฝึก เป็น Teamwork ที่สำคัญมากครับ (และ สัตวแพทย์ ในกรณีนกป่วยมีปัญหา)
![](/uploads/1774/images/Team_foto_2015.jpg)
คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
1. ปรึกษาผู้เพาะเลี้ยง/ผู้ฝึกนก ที่มีประสบการณ์ดีจริงๆ
ย่อมดีเสมอ คิด วิเคราะห์ในคำแนะนำ อะไรที่คิดว่าดีก็นำไปใช้ ไปดัดแปลงให้เหมาะกับตัวเอง
2. หมั่นศึกษาหาความรู้
สมัยนี้มีข้อมูลหลากหลายให้เราได้เรียนรู้ในหนังสือ VDO หรือ ท่องไปในโลกsocial
![](/uploads/1774/images/pipa-collectors-edition-v-english.jpg)
3. ติดตามข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด
บ่อยครั้งการเลี้ยงนก วิธีการ ก็เหมือนการทดลอง อะไรที่ดีก็เก็บไว้ อะไรที่ไม่ใช่ก็เตือนตัวเองครับ
![](/uploads/1774/images/Pigeon%20alone.jpg)
หลักคิด หลักทำ ที่สำคัญเสมอ คือ
การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการแข่งขันนกพิราบแข่ง
![](/uploads/1774/images/champion%20y(1).jpg)
สุดท้ายก่อนจบก็ขอขอบคุณ ดร.วิทยา อีกครั้งนะครับ สำหรับ บทความต่างประเทศที่ให้มา และ หวังว่าบทความมีประโยชน์กับหลายๆท่าน โดยเฉพาะนักเลี้ยงนกใหม่ๆกันครับ
....................................................................................................................................................